วันศุกร์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2535


แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2535  ประกาศโดย นายอานันท์ ปันยารชุน นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น  เป็นแผนที่ได้ปรับปนุงมาจากแผนการศึกษา พ.ศ.2520  เพื่อให้ระบบการศึกษาสนองตอบความต้องการและความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสังคมไทยอย่างรวดเร็วและสร้างความสมดุลในการพัฒนาประเทศ ทั้งด้านเศรษฐกิจ  สังคม  การเมือง  วัฒนธรรม  สิ่งแวดล้อม  วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  จัดการศึกษาในระบบ 6:3:3  โดยมุ่งจัดการศึกษาที่เน้นการพัฒนาบุคคลใน 4  ด้าน อย่างสมดุลและกลมกลืนกัน  คือ ด้านสติปัญญา  ด้านจิตใจ  ด้านร่างกาย  และด้านสังคม  ตลอดจนมีความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพและสามารถพึ่งตนเองได้

ที่มา : www.onec.go.th/plan/surang/16p.pdf

วันอาทิตย์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2554

คำคม....ดูแล้วเก็บมาคิด








แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2520-2524)

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2520-2524)
1. สาระสำคัญ
1.เน้นการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ เพื่อแก้ไขภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 3 โดยขยายการผลิต การลงทุน และเพิ่มการจ้างงานให้สูง
2.เน้นการสร้างความเป็นธรรมทางสังคม โดยเร่งกระจายรายได้ให้ทั่วถึงและยกฐานะทางเศรษฐกิจของเกษตรกร ผู้ใช้แรงงาน และคนยากจน
3.ปรับปรุงคุณภาพของประชากร โดยลดอัตราการเพิ่มของประชากรให้เหลือเพียงร้อยละ 2.1 ต่อปี เมื่อสิ้นแผน
4.ปรับปรุงสภาพสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อให้เกิดประโยชน์ทาง เศรษฐกิจสูงสุด
2. อุปสรรคและผลที่ได้รับเมื่อสิ้นแผน
1.สถานการณ์ทางเศรษฐกิจของโลกยังไม่ดีขึ้นและส่งผลกระทบต่อประเทศไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ได้แก่ การขึ้นราคาน้ำมันของกลุ่ม OPEC ทำให้สินค้ามีราคาสูง เกิดภาวะเงินเฟ้อและค่าครองชีพสูง ตลอดจนรายจ่ายภาครัฐบาลสูงขึ้นเป็นผลให้การขาดดุลการค้ากับต่างประเทศสูงเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ
2.สถานการณ์ความตึงเครียดบริเวณชายแดนด้านกัมพูชา ทำให้รัฐบาลมีภาระค่าใช้จ่ายทางการทหารและความมั่นคงมากขึ้น
         3.ความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจของประเทศกระเตื้องขึ้นกว่าในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 3 การผลิตโดยส่วนรวมขยายตัวตามเป้าหมาย และการลดอัตราการเพิ่มของประชากรก็อยู่ในเกณฑ์ ที่กำหนดเช่นกัน

วันจันทร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมมอบประกาศนียบัตร


โรงเรียนบ้านดู่  ตำบลประดู่  อำเภอสำโรงทาบ  จังหวัดสุรินทร์  จัดกิจกรรมมอบใบประกาศนียบัตรให้แก่นักเรียนที่สำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา  2553  บรรยากาศการรับใบประกาศนียบัตรเต็มไปด้วยรอยยิ้มแห่งความภาคภูมิใจของคณะครู  นักเรียน  ตลอดทั้งผู้ปกครองที่ร่วมกิจกรรมในวันดังกล่าว

วันนี้ที่รอคอย ดีใจจัง....จบแล้วค่ะ/ครับ

วันแห่งความสำเร็จ


ครูมณีเนตร  พวงธรรม  รับเกียรติบัตร  จากนายเสอดพัฒน์  พัฒนมณี 
รองผู้อำนวยการ  สพป.สุรินทร์ เขต 1 เนื่องในกิจกรรมวันสำเร็จ  ซึ่งจัดขึ้นเพื่อชื่นชมยินดีกับนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาตลอดทั้งยังเป็นการมอบรางวัลให้ครูที่มีความมุ่งมั่นในการปฏิบัติงานจนเกิดความสำเร็จ

 คณะครูโรงเรียนบ้านดู่  ตำบลประดู่  อำเภอสำโรงทาบ  จังหวัดสุรินทร์ 
ร่วมถ่ายภาพกับ นายเสอดพัฒน์  พัฒนมณี  รองผู้อำนวยการ  สพป.สุรินทร์  เขต 1

กิจกรรมการแสดงในงานวันสำเร็จ


ครูมณีเนตร  พวงธรรม  ถ่ายรูปร่วมกับนักเรียนโรงเรียนบ้านดู่  ตำบลประดู่  อำเภอสำโรงทาบ 
จังหวัดสุรินทร์  ก่อนทำการแสดง

การแสดงของหนูๆชั้นอนุบาล...ลูกใครหนอ

การแสดงชุดเซิ้งแหย่ไข่มดแดง ของนักเรียนชั้น ป.4-6

การรำแกลมอ ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-2

วันเสาร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2554

การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning)



     การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ
      (Cooperative Learning)
ความหมาย
                การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ หมายถึงกระบวนการเรียนรู้ที่จัดให้ผู้เรียนได้ร่วมมือและช่วยเหลือกันในการเรียนรู้โดยแบ่งกลุ่มผู้เรียนที่มีความสามารถต่างกันออกเป็นกลุ่มเล็ก ๆ มีการทำงานร่วมกัน มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น มีการช่วยเหลือพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน มีความรับผิดชอบร่วมกันทั้งในส่วนตนและส่วนรวม เพื่อให้ตนเองและสมาชิกทุกคนในกลุ่มประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
                สรุปได้ว่า การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเป็นการจัดการเรียนการสอนไม่ใช่วิธีการสอน การเรียนแบบร่วมมือเป็นวิธีการที่เน้นการจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนให้นักเรียนได้เรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่มเล็กแต่ละกลุ่มประกอบด้วยสมาชิกที่มีความสามารถต่างกัน แต่ละคนจะต้องมีส่วนร่วมในการเรียนรู้อย่างแท้จริงและในความสำเร็จของกลุ่ม มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นการแบ่งปันทรัพยากรการเรียนรู้ เป็นกำลังใจแก่กันและกัน สมาชิกในกลุ่มไม่เพียงแต่รับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของตนเองเท่านั้น แต่จะต้องรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของเพื่อนสมาชิกในกลุ่ม ความสำเร็จของแต่ละบุคคลคือความสำเร็จของกลุ่ม
วัตถุประสงค์
                1. เป็นวิธีการที่พัฒนาผู้เรียนในด้านวิชาการและทักษะทางสังคม
                2. เป็นการเตรียมผู้เรียนให้สามารถดำรงชีวิตในสังคมประชาธิปไตยได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความสุข
องค์ประกอบสำคัญ
        การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือมีองค์ประกอบสำคัญดังนี้
1. การมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันในทางบวก (Positive Interdependence)
2. การปฏิสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดระหว่างการทำงานกลุ่ม (Face to Face Promotion Interaction)
3. การตรวจสอบความรับผิดชอบของสมาชิกแต่ละคน (Individual Accountability)
4. การใช้ทักษะระหว่างบุคคลและทักษะการทำงานกลุ่มย่อย (Interdependence and Small Group Skills)
5. กระบวนการกลุ่ม (Group Process)
รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ
                นักการศึกษาได้พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือไว้อย่างหลากหลาย ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (2544  :  106  128) กล่าวไว้ดังนี้
                1. ร่วมหัวร่วมคิด (Number Heads) เป็นรูปแบบของกิจกรรมการเรียนการสอนที่จัดให้ผู้เรียนทำงานเป็นกลุ่ม โดยแบ่งกลุ่มจำนวน 4 – 6 คน แบบคละความสามารถ
                2. คู่คิดคู่สร้าง (Think – Pair – Share) เป็นรูปแบบของกิจกรรมการเรียนการสอนที่จัดให้ผู้เรียนทำงานเป็นกลุ่ม โดยเริ่มจากการจับคู่กันคิด แล้วนำความคิดของทั้งคู่มาอภิปรายในกลุ่มเพื่อให้ได้ความคิดของกลุ่ม
                3. คิดคู่สลับคู่คิด (Think – Pair – Square) เป็นวิธีการที่ให้สมาชิกในกลุ่มมีโอกาสจับคู่ร่วมกันคิด อภิปราย แลกเปลี่ยนความรู้ และประสบการณ์ในประเด็นที่ศึกษาอย่างทั่วถึง
                4. เล่าเรื่องรอบวง (Round robin) เป็นวิธีการที่เปิดโอกาสให้สมาชิกทุกคนเล่าประสบการณ์ความรู้ในประเด็นที่ศึกษาโดยใช้เวลาที่เท่ากัน
                5. อัศวินโต๊ะกลม (Round Table) เป็นวิธีการจัดกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้สมาชิแต่ละคนหมุนเวียน หรือผลัดกันเขียนประเด็นที่ศึกษาหนึ่งคำตอบลงบนแบบบันทึกตามลำดับทีละคน              
                6. จุดร่วมในความต่าง (Compare and Contrast) เป็นวีการที่ใช้ฝึกทักษะการจำแนก โดยให้สมาชิกในกลุ่มร่วมกันศึกษาวิเคราะห์หาความเหมือนและความแตกต่างจากประเด็นที่ศึกษาอย่างน้อย 2 ประเด็น โดยบันทึกผลการวิเคราะห์ลงในแผนภูมิความสัมพันธ์ (Venn Diagram)
                7. ร่วมเรียน ร่วมรู้ (Learning Together  :  LT) เป็นวิธีการที่เหมาะสมกับเนื้อหากิจกรรมการเรียนที่มีลำดับขั้นตอนแน่นอน ผู้เรียนทำงานร่วมกันภายในกลุ่ม โดยแบ่งหน้าที่รับผิดชอบอย่างเด่นชัด เพื่อให้ได้มาซึ่งผลงานกลุ่ม
                8. สืบค้นเป็นกลุ่ม (Group Investigation  :  GI) เป็นวิธีการที่เน้นการศึกษาค้นคว้า และสืบเสาะหาความรู้ในเรื่องที่สนใจร่วมกัน โดยใช้กระบวนการกลุ่ม ผู้เรียนเป็นผู้กำหนดสิ่งที่จะเรียน และร่วมกันวางแผนจัดกระบวนการเรียน
                9. สืบเสาะ/ค้นหา/มาร่วมกลุ่ม (Co – op  Co – op) เป็นวิธีการที่เน้นการศึกษาค้นคว้า สืบเสาะหาความรู้ โดยมีผู้เรียนควบคุมกันเองในการเลือกหน่วยการเรียนหน่วยใหญ่ และผู้เรียนต้องแบ่งเนื้อหาเป็นหัวข้อย่อย ๆ กันเองในกลุ่ม
ข้อเสนอแนะ การนำการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือมาใช้ควรดูให้เหมาะสมไม่ใช่ทำทุกชั่วโมง แล้วก็คิดว่าเป็นการเรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง

ที่มา  :  http://www.wijai48.com/learning_stye/experince_learning/Cooperative_Learning.htm

สรุปโดย  นางสาวมณีเนตร  พวงธรรม  นักศึกษาปริญญาโท  สาขาการบริหารการศึกษา  มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี